วิศวกรรมคอมพิวเตอร์


วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 

 หากจะบอกว่าถ้ายุคนี้ใครไม่รู้จักคอมพิวเตอร์ก็คงจะถูกมองว่าล้าสมัยตกยุคไดโนเสาร์เรียกป๋าอะไรประมาณนั้นเพราะแทบจะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนพึ่งพาเทคโนโลยีประเภทนี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นแต่ประการใดหากเราจะสรุปว่า คนที่เรียนด้านนี้และเป็นผู้ช่ำชองเชี่ยวชาญ รับรองได้เลยว่าชี้นิ้วเลือกงานกันได้เลย...

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์



การศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดีด้วย

ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายในเช่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือเครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัลเครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัลระบบเตือนภัยเครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์และเครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้นซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน

ในประเทศไทย มีหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นครั้งแรก ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2518เพื่อจัดดำเนินการด้านการเรียนและการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อันจะช่วยให้การสอนของอาจารย์และการวิจัยของข้าราชการของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตลอดจนสร้างโปรแกรมทำโครงการพัฒนาระบบการใช้งานภาษาไทยและสร้างระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆรวมถึงจัดอบรมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับทั่วไป

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
          วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
          สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
          สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และชีวการแพทย์   มหาวิทยาลัยรังสิต
          วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
          วิศวกรรมคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
          วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
          วิศวกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
          วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


แนวทางการประกอบอาชีพ

        เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้หลากหลาย  เช่น 

                     1. Programmer หรือ System analyst Webmaster
                     2. Web coordinator
                     3. Web maintainance Graphic creator
                     4. Special effect worker
                     5. พนักงานป้อนข้อมูล
                     6. นักเดินระบบเครือข่าย
                     7. ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการ
                     8. เปิดร้าน Internet cafe
                     9. ทำงาน ในหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น
                         - กระทรวงอุตสาหกรรม
                         - กระทรวงคมนาคม
                         - สำนักงานการพลังงานแห่งชาติ
                         - กรมชลประทาน
                         - กรมโยธาธิการ
                   10. ทำงาน ให้รัฐวิสาหกิจอื่นๆ เช่น
                         - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                         - การไฟฟ้านครหลวง
                         - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                         - องค์การโทรศัพท์
                         - การสื่อสารแห่งประเทศไทย
                         - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
                         - โรงงานยาสูบ
                         - ทำงานโรงงานอุตสาหกรรม
                  11. ภาคเอกชนก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่มาก

แหล่งข้อมูล http://edunews.eduzones.com/magazine/77654